วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

หนังไทยเรื่องแรก


พบโชคสองชั้น หนังไทยแท้เรื่องแรก

เช้าวันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 เมื่อเปิดกระป๋องบรรจุฟิล์มภาพยนตร์กระป๋องหนึ่งจากชั้นเก็บฟิล์มภาพยนตร์ที่เรียกว่ากลุ่มภาพยนตร์กรมรถไฟหลวง เพื่อจัดเตรียมให้เจ้าหน้าที่พิมพ์สำเนาภาพยนตร์ของหอภาพยนตร์แห่งชาตินำไปพิมพ์ถ่ายทอดเพื่ออนุรักษ์ภาพยนตร์เหล่านี้ไว้ซึ่งเป็นภาระที่หอภาพยนตร์แห่งชาติค่อยทำค่อยไปมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ไม่นึกไม่ฝันว่าจะได้พบฟิล์มต้นฉบับของภาพยนตร์ไทยแท้เรื่องแรก คือ โชคสองชั้น ของ กรุงเทพฯ ภาพยนตร์บริษัท พ.ศ. 2470 ซ่อนอยู่ในกระป๋องนั้น และนอนสงบอยู่ในหอภาพยนตร์แห่งชาติมาถึงสิบปีเต็ม
กระป๋องฟิล์มนี้ พบครั้งแรกที่อาคารโรงพิมพ์การรถไฟแห่งประเทศไทย ย่านถนนรองเมืองซอย 2 เมื่อปี พ.ศ. 2524 ครั้งนั้นได้ตรวจดูคร่าวๆ เพื่อทำบัญชี  และได้เขียนสลากปิดบนหน้ากระป๋องว่า มี 4 ขดย่อย NO 44
1.  ก. 12 ม้วนที่ 2 ยาว 60 ฟิต (หัวฟิล์มเป็นภาพชาวบ้านเล่นน้ำในบึง)
2.  ก. 12 ม้วนที่ 3 ยาว 284 ฟิต (หัวฟิล์มเป็นรูปชาวบ้านยืนล้อมวง)
3.  ก.12  ม้วนที่ 4 ยาว 56 ฟิต (หัวฟิล์มเป็นภาพต้นไม้,บ้าน)
4.  ก.12  ม้วนที่ 1 ยาว 140 ฟิต (หัวฟิล์มเป็นภาพถนน)
สภาพ 1.ดี  2.ดี  3.พอใช้  4.พอใช้ (ฟิล์มเริ่มเยิ้ม)
NEGATIVE ตรวจ 6.7.81
โดมได้พบและเคยตรวจฟิล์มในกระป๋องนี้มาแล้ว เมื่อวันที่6 กรกฎาคม 2524 ซึ่งคราวนั้นได้พบและรวบรวมฟิล์มภาพยนตร์ที่การรถไปแห่งประเทศไทย   ซึ่งเป็นฟิล์มเก่าจากสมัยรัชการที่ 7 เป็นผลงานของภาพยนตร์เผยแพร่ข่าวกรมรถไฟหลวง ระหว่างปี พ.ศ. 2469 ถึง พ.ศ. 2484 ได้บัญญัติบัญชีลงทะเบียนไว้รวมทั้งหมด 290 รายการ (กระป๋องที่กล่าวถึงเป็นรากการที่ 44) ฟิล์มภาพยนตร์ของกรมรถไฟหลวงนี้ เกือบทั้งหมดเป็นฟิล์มต้นฉบับเนกาทีฟ จากกล้องถ่ายภาพยนตร์ ขนาด 35 มิลลิเมตร ขาวดำและเป็นฟิล์มซึ่งฐานฟิล์มเป็นวัสดุที่เรียกว่า ไนโตรเซลลูโลส หรือเรียกง่ายๆว่า ฟิล์มไนเตรต อันเป็นวัสดุฟิล์มที่อุตสาหกรรมผลิตฟิล์มเลิกผลิตมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 เพราะวัสดุวาบไฟ อาจลุกไหม้และระเบิดรุนแรงได้ทั้งยังไม่สามารถเก็บรักษาให้คงสภาพหรือมีอายุยืนนานได้ แต่ยังมีอายุขัยอยู่ได้ประมาณ 50 ถึง 70 ปี ก็จะหมดอายุเสื่อมสภาพเป็นผุยผง เมื่อวันที่พบฟิล์มนี้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2524 ฟิล์มภาพยนตร์เหล่านี้ต่างมีอายุห้าสิบกว่าปีเข้าไปแล้ว  ซึ่งนับว่าเป็นบั้นปลายของชีวิต อาจเสื่อมสภาพได้ทุกขณะ และจำนวนหนึ่งได้เสื่อมสภาพในอาการต่างๆ ไปแล้ว (ดูลายละเอียดเรื่องนี้ได้จากบทรายงานเรื่อง ขุดกรุหนังเก่าของกรมรถไปหลวงโดย สุขวงศ์ ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2524’’ ฟิล์มภาพยนตร์เหล่านี้ ต่อมาการรถไฟแห่งประเทศไทยได้มอบให้แก่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ในปีเดียวกันนั้น หลังจากนั้นราวหนึ่งปีเศษ กองจดหมายเหตุแห่งชาติได้นำไปมอบแก่โครงการอนุรักษ์ภาพยนตร์ในประเทศไทย วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ เมื่อปี พ.ศ. 2546 สุดท้ายเมื่อกรมศิลปากรจัดตั้งหอภาพยนตร์แห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2527 หอภาพยนตร์แห่งชาติจึงขอรับมอบฟิล์มภาพยนตร์เหล่านี้มาดำเนินการอนุรักษ์ ซึ่งได้ค่อยทำค่อยไป จนบัดนี้อนุรักษ์ไว้ได้กว่าเก้าสิบเปอร์เซ็นต์แล้ว

โครงเรื่อง
นายกมล มาโนช (แสดงโดยมานพ ประภารักษ์) พระเอกของเรื่อง เป็นนายอำเภอหัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้รับมอบหมายให้ลงมาสืบจับผู้ร้ายคนหนึ่งซึ่งซ้อนตัวอยู่ในกรุงเทพ นายกมลเข้ามาพักอยู่ที่บ้านพระยาพิชัย (แสดงโดย อุทัย อินทร์วงศ์) และมีหลานชื่อว่า นางสาววลี ลาวัณยลักษณ์ (แสดงโดย หม่อมหลวงสุดจิตตร์ อิศรางกูร) ซึ่งทั้งสองได้พับรักกันโดยเร็ว แต่นายวิง ธงสี (แสดงโดย มงคล สุมนนัฏ) ซึ่งหมายปองนางสาววลีอยู่แล้วและชอบไปมาหาสู่พระยาพิชัยเป็นเนือง ๆ และนายวิงคนนี้ก็คือคนร้ายที่นายกมลกำลังสืบจับอยู่นั่นเอง นายวิงไหวตัวทันเรื่องนายกมลตามคนร้าย จากนั้นนางวิงก็วางแผนร้ายโดยส่งพรรคพวกลูกสมุนเข้ามาทำร้ายนายกมล แต่นายกมลมีความชำนาญในการระวังภัยจากโจร จึงต่อกรขัดขวางกำลังได้ จนนายวิงและพรรคพวกต้องหลบหนีไป นายกมลไล่ตามจับแต่เกิดหลงทาง นายวิงได้วกกลับมาที่บ้านพระยาพิชัยและจับนางสาววลีไป แต่นายกมลมีเชาวน์ที่ดี เข้าใจว่าเป็นแผนลวง จึงวกกลับบ้านพระยาพิชัย และได้พบนายวิง นายกมลจึงตามล่านายวิงไปจนสุดทางและเกิดการต่อสู้ขึ้น จนกระทั่งตำรวจที่พระยาพิชัยโทรไปแจ้งมาสมทบร่วมจับนายวิงและสมุนได้ทันเวลา นายวิงจึงถูกตำรวจจับเข้าตะราง ส่วนนายกมลมีโชคสองชั้น นอกจากจะจับผู้ร้ายได้แล้วยังได้นางสาววลีมาเป็นภรรยาอีกด้วย
นักแสดง
ที่มา
ภาพจากภาพยนตร์
ในช่วงที่มานิต วสุวัต เจ้าของหนังสือพิมพ์ศรีกรุง ทำหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษชื่อ Liberty หลวงบุณยมานพพานิช เจ้าของนามปากกา "แสงทอง" ได้รับคำชวนให้ร่วมงานเขียนด้วย ต่อมาปลายปี พ.ศ. 2469 หลวงสุนทรอัศวราช ข้าราชการถูกดุลย์กับคณะ กำลังก่อตั้งบริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทยและประกาศสร้างหนังไทยเรื่องแรก แต่ประสบปัญหาระหว่างการดำเนินการ หลวงกลการเจนจิต หัวหน้ากองภาพยนตร์เผยแพร่ข่าว กรมรถไฟที่หลวงสุนทรอัศวราชติดต่อวางตัวเพื่อจ้างให้เป็นทีมช่างถ่าย ภาพยนตร์
ที่รอความคืบหน้า หมดความอดทน จึงปรึกษากับคณะพี่น้องวสุวัตที่ประสงค์จะสร้างภาพยนตร์ไทย แล้วรวมกันเตรียมงานสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้
ก่อนดำเนินการ พี่น้องวสุวัตเข้าปรึกษากับนายเซียวซองอ๊วน สีบุญเรือง ผู้จัดการใหญ่โรงภาพยนตร์ เพื่อตกลงความร่วมมือในการก่อตั้งบริษัทภาพยนตร์ ชื่อ บริษัท กรุงเทพภาพยนตร์ ทีมงานประกอบด้วย หลวงกลการเจนจิต และนายกระเศียร วสุวัต แห่งกรมรถไฟหลวง รวมทั้ง หลวงอนุรักษ์รัถการ (เปล่ง สุขวิริยะ) ข้าราชการกรมรถไฟหลวง ซึ่งเคยเป็นเลขานุการของกรมหลวงกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ผู้คอยตามเสด็จไปดูงานในต่างประเทศที่เคยดูงานโรงถ่ายภาพยนตร์ในฮอลลีวูดมาแล้ว เป็นผู้กำกับแสง และได้ หลวงบุณยมานพพานิช เป็นผู้ประพันธ์

โชคสองชั้น (Double Luck)เป็นภาพยนตร์ไทยที่สร้างและผลิตโดยคนไทยสำเร็จเป็นครั้งแรก เป็นหนังเงียบ ถ่ายทำด้วยฟิล์มขาว-ดำ ขนาด 35 มม. จำนวน 6 ม้วน ประมาณ 90 นาทีผลิตโดย กรุงเทพภาพยนตร์ บริษัท (ต่อมา คือ บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง) ของ มานิต วสุวัต ร่วมกับคณะนักหนังสือพิมพ์สยามราษฎร์ และศรีกรุง
เข้าฉายครั้งแรกเมื่อ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 ที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร มีจำนวนผู้ชมสูงสุด 4 คืน กับ 1 วัน เท่ากับ 12,130 คน ทำลายสถิติเมื่อสี่ปีก่อนหน้าเรื่อง นางสาวสุวรรณ
ปัจจุบันหนังเรื่องนี้เสียหายจากความเสื่อมสภาพ โดยหอสมุดแห่งชาติได้ค้นพบฟิล์มและพิมพ์สำเนาใหม่เอาไว้ได้เพียง 82 ฟุต คิดเป็นภาพนิ่งทั้งหมด 1,319 ภาพ รวมความยาวประมาณ 1 นาที
ล่าสุดได้รับคัดเลือกขึ้นทะเบียนเป็น มรดกภาพยนตร์ของชาติ ประจำปี 2555 เนื่องในวันอนุรักษ์ภาพยนตร์ไทย (4 ต.ค.) ของ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ขณะมีอายุเก่าแก่ที่สุด 85 ปี ในบรรดา 25 เรื่อง
อ้างอิง
1.          โดม สุขวงศ์ ,สยามภาพยนต์ ,หอภาพยนตร์(องค์การมหาชน),2555 ISBN:978-616-543-173-6 หน้า 263
2.          จุลสารทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 2 (2555)
5.          หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ,4 ต.ค.2555
6.          วีระยศ สำราสุขทิวาเวทย์, คอลัมน์หนังกับหนังสือ ,นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับปีที่ 29 ฉบับที่ 6 เมษายน 2551 หน้า 26


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น